ข้อควรปฏิบัติ

เพื่อการมีลูกง่าย

นพ.พัฒน์ศมา วิจินศาสตร์วิจัย

MClinEmbryol, EFOG-EBCOG, EFRM-ESHRE/EBCOG.

คลินิกมีบุตรง่าย LIFE by Dr. Pat

คนไข้มักจะถามหมอเสมอ ว่าระหว่างการรักษามีบุตรยากควรปฏิบัติตัวอย่างไรบ้าง เอาแบบที่มีงานวิจัยรองรับนะ มาดูกัน

1.คุมน้ำหนัก

ระบบสืบพันธุ์ผู้หญิงนี่ต้องบอกว่าเค้าชอบทางสายกลางครับ อะไรที่มากไป น้อยไป มักจะทำให้ระบบสืบพันธุ์ประท้วงก่อนเลยครับ โดยเฉพาะน้ำหนักเนี่ยเห็นชัดสุด ๆ 

ปกติเราจะประเมินว่าน้ำหนักใครมากหรือน้อยเราจะเทียบกับส่วนสูงครับ โดยคำนวณจากดัชนีมวลกาย (Body Mass Index; BMI) โดยใช้สูตร

BMI = น้ำหนัก (กก.)/ส่วนสูง (ม.)²

น้ำหนักตัวมากเกินไป 

หมอไม่อยากใช้คำว่าอ้วนนะคะเพราะว่าฟังแล้วมันจุก ๆ ยังไงไม่รู้ ขอเรียกว่าน้ำหนักตัวมากเกินแล้วกัน คนที่น้ำหนักตัวมากมักจะมีโอกาสท้องยากกว่าคนน้ำหนักปกติถึง 4% ต่อ BMI ที่เพิ่มขึ้น 1.0 kg/m2 สาเหตุมาจากอาจมีภาวะไข่ไม่ตกเรื้อรัง และยังพบว่าคนที่น้ำหนักเกินจะมีขนาดรังไข่เล็ก (ซึ่งอาจเกี่ยวกับการมีจำนวนไ่ข่ที่น้อยกว่า) 

นอกจากนี้ผู้หญิงที่มีน้ำหนักเกินเมื่อท้องก็พบว่าเพิ่มความเสี่ยงต่อการแท้ง เบาหวานขณะตั้งครรภ์​​ (GDM) ความดันโลหิตสูงขณะตั้งครรภ์และมีโอกาสเกิดลิ่มเลือดอุดตันครับ ส่วนทารกในครรภ์ก็มีโอกาสเสียชีวิตในครรภ์เพิ่มขึ้น และน้ำหนักแรกคลอดเยอะเกิน นอกจากนี้ไขมันหน้าท้องที่หนาของคุณแม่นี่ยังทำให้การตรวจวินิจฉัยด้วยอัลตราซาวดน์ดูยากด้วยครับ เพราะมันตัองผ่านไขมันหน้าท้องกว่าจะไปถึงตัวเด็ก ทำให้การประเมินการเจริญเติบโตของทารกในครรภ์และการประเมินความผิดปกติแต่กำเนิดก็ยิ่งยากเข้าไปใหญ่

น้ำหนักตัวน้อยเกินไป

อย่างที่หมอบอกตั้งแต่ตอนต้นว่าระบบสืบพันธุ์ผู้หญิงชอบทางสายกลาง กรณีคนที่น้ำหนักตัวน้อยเกินไปก็มีปัญหามีบุตรยากเช่นกัน สาเหตุก็มาจากไข่ไม่ตกเรื้อรังเช่นกันครับ คนที่น้ำหนักตัวน้อยบางคนอาจมีความผิดปกติเกี่ยวกับการกิน เช่น anorexia หรือ bulemia ซึ่งควรได้รับการรักษาจากจิตแพทย์หรือนักจิตวิทยาร่วมด้วย โดยอย่างน้อยน้ำหนักตัวต้องกลับมาใกล้เคียงปกติก่อนจึงจะท้อง 

แต่อย่างไรก็ตาม หมอว่าการลดหรือเพิ่มน้ำหนักเนี่ยเป็นเรื่องที่ต้องใช้เวลา ความพยายามและวินัยในตัเองมาก ๆ เลย ไม่ว่าจะต้องการน้ำหนักให้ขึ้นหรือลด บางคนใช้เวลาเป็นปี ดังนั้นอย่าลืมว่าโอกาสท้องนั้นลดจากอายุเรามากที่สุด ดังนั้นอย่ามัวแต่ลดน้ำหนักจนลืมมารักษามีบุตรยากนะครับ เดี๋ยวไข่หมดเกลี้ยงไปก่อน เตือนแล้วนะ

2.กินให้ท้อง

จากการศึกษาพบว่าผู้หญิงที่พยายามจะมีลูกได้รับคำแนะนำทางด้านโภชนาการน้อยมาก โดยมักจะได้รับเมื่อตั้งครรภ์และอายุครรภ์เกิน 12 สัปดาห์ไปแล้วซึ่งเลยช่วงระยะเวลาการสร้างอวัยวะต่าง ๆ  ของทารกไปแล้วนั่นแหละ 

สิ่งที่จะกล่าวต่อไปนี้หมายถึงให้กินจากอาหารที่มีสารอาหารเหล่านี้สูงนะเจ้าคะ ไม่ใช่กินเป็นเม็ดอาหารเสริม 

อาหารที่ควรรับประทานในผู้เตรียมมีบุตร

Whole Grains

ธัญพืชไม่ขัดขาว เช่น ข้าวกล้อง ข้าวซ้อมมือ เพราะนอกจากจะทำให้น้ำตาลในกระแสเลือดขึ้นช้าแล้วยังมีใยอาหารและวิตามินต่าง ๆ มากกว่าธืญพืชขัดขาวคร้บ

กรดไขมัน omega-3

พบมากในปลาทะเล ถั่วและเมล็ดธัญพืชต่าง ๆ และน้ำมันมะกอกพบว่าผู้ที่รับประทานอาหารที่มี omega-3 สูงจะมีช่วงวัยเจริญพันธุ์ที่ยาวกว่า ทำให้ตัวอ่อนสวย และเพิ่มอัตราการคลอดมีชีพได้

ปลาและไก่

ถั่วเหลือง

ผักและผลไม้

อาหารที่ควรหลีกเลี่ยงในผู้เตรียมมีบุตร

อาหารที่มีไขมันทรานส์

การบริโภคอาหารที่มีไขมันทรานส์มากกว่า 2% ของแคลอรีที่ได้รับสัมพันธ์กับภาวะไข่ไม่ตกเรื้อรังและเยื่อบุมดลูกเจริญผิดที่

เนื้อแดงและเนื้อสัตว์แปรรูป

ยังไม่พบหลักฐานว่าการตรวจวัดค่าสารอาหารต่าง ๆ จากเลือดหรือเส้นผมจะช่วยให้ตั้งครรภ์ง่ายขึ้นยกเว้นการตรวจระดับวิตามินดีในเลือดที่อาจทำให้โอกาสท้องมากขึ้นหากพบว่าระดับต่ำและได้รับวิตามินดีเสริมแต่ยังต้องการข้อมูลจากการศึกษาเพิ่มเติม

3.อาหารเสริม

อาหารเสริมสำหรับคนเตรียมมีลูกในท้องตลาดมีเกลื่อนกลาดซะยิ่งกว่าจำนวนคนอยากมีลูกอีกอะหมอว่า แต่จะซื้ออะไรมากินมาใช้ ให้ตั้งสตินิดนึงก่อน เนื่องจากหลายขนานไม่ได้มีหลักฐานทางการแพทย์ว่าช่วยเพิ่มโอกาสการมีลูกได้จริง ๆ สำหรับอาหารเสริมที่ควรใช้ในคนที่เตรียมตัวมีบุตรได้แก่

Folic acid

Vitamin D

Vitamin C

Vitamin E

CoQ10

Omega-3

DHA

Zinc

Selenium

4.งดบุหรี่ สุรา กาแฟ

บุหรี่

สุรา

กาแฟ

5.ออกกำลังกายให้พุงป่อง

6.นอนให้เพียงพอ

คำแนะนำ

7.พิฆาตความเครียด

เทคนิคพิชิตความเครียด

เอกสารอ้างอิง