การปฏิบัติตัวเพื่อการส่องกล้องโพรงมดลูก

แบบไม่ต้องนอนโรงพยาบาล

Office Hysteroscopy

นพ.พัฒน์ศมา วิจินศาสตร์วิจัย 

วว.สูติศาสตร-นรีเวชวิทยา, วว.เวชศาสตร์การเจริญพันธุ์, ป.ผ่าตัดผ่านกล้องทางนรีเวช

MClinEmbryol, EFOG-EBCOG, EFRM-ESHRE/EBCOG.

Keywords: office hysteroscopy; digital hysteroscopy clinic; dysmorphic uterus; endometrial polyp; submucous myoma; submucous fibroid; 

ปัจจุบันมีความก่้าวหน้าทางเทคโนโลยีการผ่าตัด โดยเฉพาะการผ่าตัดผ่านกล้องมีมากขึ้นทำให้ขนาดของอุปกรณ์ เครื่องมือต่าง ๆ  มีขนาดเล็กลง ในขณะที่กล้องให้ภาพที่คมชัดมากขึ้น มีกำลังขยายมากขึ้น รวมทั้งการใช้เทคโนโลยีเช่น AI มาช่วยประเมินภาพที่เห็นจากกล้อง ทำให้การผ่าตัดส่องกล้องในโพรงมดลูก (hysteroscopy) สามารถทำที่คลินิกได้ ไม่จำเป็นต้องนอนโรงพยาบาลอีกต่อไป หรือที่เรียกว่า Office Hysteroscopy ซึ่งใช้กล้องส่องโพรงมดลูกนี้สามารถทำได้ทั้งเพื่อการวินิจฉัย (diagnostic hysteroscopy) และการผ่าตัดรักษา (operative hysteroscopy)

ข้อบ่งชี้ของ office hysteroscopy (Indications) 

ข้อบ่งชี้ในการใช้กล้องส่องโพรงมดลูก ได้แก่ ภาวะต่อไปนี้

การปฏิบัติตัวก่อนการส่องกล้องโพรงมดลูก

ที่ LIFE by Dr. Pat คุณหมอใช้เทคนิคการส่องกล้องโพรงมดลูกแบบ vaginoscopy ทำให้ไม่ต้องใส่อุปกรณ์ เช่น ปากเป็ด (speculum) หรืออุปกรณ์จับปากมดลูก (tenaculum) ทำให้แทบไม่เจ็บเลย และขนาดกล้องที่เล็กลงทำให้ไม่มีความจำเป็นต้องขยายปากมดลูก ทำให้การส่องกล้องทำได้ที่คลินิกเหมือนกับการตรวจภายใน หรืออัลตราซาวนด์ตามปกติ ดังนั้น คนไข้จึงมีการเตรียมตัวก่อนส่องกล้องน้อยมาก ได้แก่

Office Hysteroscopy มีข้อดี ข้อเสีย อย่างไร

การส่องกล้องโพรงมดลูกทำโดยใช้กล้องส่องโพรงมดลูกที่มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางเพียง 3-4 มม. โดยการใส่กล้องผ่านปากมดลูกทำให้ไม่มีแผลผ่าตัด ส่วนของกล้องจะเข้าไปในร่างกายเพียงไม่เกิน 10 ซม.​ เท่านั้น โดยขณะกล้องทำงานจะมีการปล่อยน้ำเกลือออกมาทางปลายกล้องเพื่อช่วยเปิดโพรงมดลูกให้มีพื้นที่ในการผ่าตัด มีข้อดีและข้อเสียดังต่อไปนี้

ตัวอย่างกล้องส่องโพรงมดลูกที่ใช้ที่ LIFE by Dr. Pat 

ข้อดี

ข้อเสีย

ขณะส่องกล้องมีขั้นตอนอะไรบ้าง

การส่องกล้องโพรงมดลูกมีขัันตอนต่อไปนี้

ส่องกล้องโพรงมดลูกเพื่อวินิจฉัย (Diagnostic Hysteroscopy)

การทำหัตถการในมดลูกจะให้เรารู้สึกเจ็บปวด ไม่สบาย เมื่อมีการสัมผัสกับผนังโพรงมดลูกเท่านั้น การส่องกล้องเพื่อวินิจฉัยจะมีน้ำเกลือเปิดช่องโพรงมดลูกให้เห็นและการสอดกล้องไปในโพรงมดลูกโดยไม่มีการแตะผนังมดลูกเลยมีโอกาสทำให้รู้สึกเจ็บปวดได้น้อยมาก 

ดังนั้น diagnostic hysteroscopy จึงยังไม่ได้ให้ยานอนหลับ เพื่อให้คนไข้สามารถดูการตรวจได้จากหน้าจอข้างเตียงตรวจ โดยหมอจะอธิบายการตรวจแต่ละขั้นตอนเพื่อให้คนไข้รับทราบและคลายความกังวล 

การผ่าตัดส่องกล้องโพรงมดลูก

หลังจากการตรวจวินิจฉัยโพรงมดลูกและยืนยันพยาธิสภาพแล้ว หมอจะให้ยาแก้ปวดและช่วยให้หลับก่อนที่จะทำหัตถการต่อไป โดยจะมีการบันทึกวีดีโอขณะผ่าตัดเพื่ออธิบายคนไข้และให้สำเนาคนไข้เก็บไว้เป็นหลักฐานด้วย การผ่าตัดส่วนใหญ่จะใช้เวลาไม่เกิน 30 นาที หลังจากที่เสร็จการผ่าตัด คนไข้จะไปนอนพักฟื้นที่ห้องพักฟื้นประมาณ​ 1-2 ชั่วโมง เมื่อตื่นดีสามารถเดินทางกลับบ้านได้ หลังผ่าตัดสามารถเดินได้เลย โดยอาจมีเลือดออกเล็กน้อย 

การปฏิบัติตัวหลังจากส่องกล้องโพรงมดลูก

การปฏิบัติตัวหลังจากส่องกล้องโพรงมดลูกมีคำแนะนำดังต่อไปนี้

การปฏิบัติเหล่านี้จะช่วยให้มดลูกหายและพร้อมที่จะเป็นที่ฝังตัวของตัวอ่อนทำให้เรามีลูกสมปรารถนาครับ 

วีดีโอแนะนำการปฏิบัติตัวก่อนและหลังการส่องกล้องโพรงมดลูก

เอกสารอ้างอิง